ซินแส VS กราฟิก หมัดต่อหมัด เมื่อฮวงจุ้ย ปะทะ งานดีไซน์

HIGHLIGHT

  • เมื่อ “ความเชื่อ” กับคนไทย อยู่คู่กันมานานแสนนาน
  • ซินแส กับ นักออกแบบ ก็เป็นเหมือนกับ “แฟนเก่า”
  • ที่อาจจะเคยเข้ากันได้ในบางเรื่อง แต่ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า “คู่กัน”

“ความเชื่อ” กับคนไทย หนึ่งสิ่งที่เรียกว่าเป็นคู่กันและตัดขาดออกจากกันไม่ได้จริงๆ ซึ่ง ณ ในวันนี่ เราจะมาพูดถึงความเชื่อที่เกี่ยวกับงานออกแบบ โดยหากอีกหนึ่งชื่อเรียกที่คุ้นหูคุ้นตาก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ฮวงจุ้ย” นั่นเอง และในประเด็นดังกล่าวนี้ ก็มี 2 อาชีพหลักๆ ที่ดูแล้วมันไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันได้เลย แต่กลับต้องมาทำงานร่วมกันไปกลายๆ ซะงั้น

นั่นก็คือ “ซินแส” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นสิริมงคล กับ “นักออกแบบ” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะของการสร้างสรรค์ผลงาน คู่หู คู่เด็ด ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาอย่างช้านาน ราวกับงูเห่ากับพังพอนเสียอย่างไรอย่างนั้น

แต่ความเป็นไม้เบื่อไม้เมา มันไม่ได้มาจากเพียงเพราะอคติ หรือ อีโก้ส่วนตัวของทั้ง 2 อาชีพแต่อย่างใด หากแต่ว่ามันมีที่มาที่ไปมากกว่ากว่าที่คุณอาจจะเคยคิด มาดูกันดีกว่า เพราะเหตุใด ซินแส และ นักออกแบบ ถึงเป็นอาชีพที่ไม่เคยลงรอยกันสักที … ตามมาดูกัน!!


ฮวงจุ้ยดีไซน์องค์ประกอบ

องค์ประกอบทางความเชื่อ VS องค์ประกอบด้านศิลปะ

ก่อนอื่นเลย ขออธิบายว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะลบหลู่ความเชื่อแต่อย่างใด หากแต่ขอพูดถึงประเด็นของหลักการที่สามารถยกข้อพิสูจน์ หลักการ หรือหลักฐานเทียบประกอบได้เท่านั้น โดยประเด็นแรกที่เราจะพูดถึงนี้ เป็นเรื่องของ “องค์ประกอบ” ของศาสตร์และหลักการจากทั้ง 2 อาชีพ ที่แน่นอนว่ามีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน

อย่างแรกเลย ศาสตร์ทางความเชื่อ เป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกการยอมรับอย่างเป็นสากลที่จะสามารถใช้อ้างอิงประกอบงานการออกแบบได้ แต่… มันสามารถใช้ประกอบสิ่งที่เรียกว่าเพิ่มความ “สบายใจ” ของผู้ว่าจ้างได้ เช่น การใช้สีมงคล รูปร่างที่ถูกโฉลก เป็นต้น กลับกันที่หลักการ การออกแบบ ได้มีการศึกษาค้นคว้ากันมาอย่างต่อเนื่อง จนได้ข้อสรุปของวิธีการทำที่เป็นแบบแผน สามารถใช้ประกอบงานการออกแบบได้ เช่น คู่สีตรงข้าม โทนสีร้อน-เย็น หรืออีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าคนออกแบบรู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ สัดส่วนทองคำ หรือ Golden Ratio นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า เมื่อยกองค์ประกอบของทั้ง 2 สิ่งมาเทียบกัน หลักการ VS กับ ความเชื่อ … หลักการจะชนะขาดลอยได้เรื่องของการใช้ประกอบการทำงานออกแบบ แต่ความเชื่อ จะชนะขาดลอยในเรื่องของการสร้างความสบายให้กับผู้ว่าจ้าง


ฮวงจุ้ยดีไซน์ศาสตร์ที่แตกต่าง

ศาสตร์ที่แตกต่าง อาจจะเอามาใช้กับงานรูปแบบเดียวกันได้

การที่เราจะผสม หรือ มิกซ์ ส่วนประกอบอะไรหลายๆ อย่างให้สามารถเข้ากันได้ และผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่ลงตัว ส่วนประกอบที่เป็นส่วนผสมทั้งหลาย ก็ต้องมีความใกล้เคียง หรือ คล้ายเคียงกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นกันผสมน้ำผลไม้ ที่น้ำองุ่น กับ ลิ้นจี่ ก็พอจะมีความเป็นไปได้ที่รสชาติจะออกมาถูกปาก หรือเข้ากันได้ กลับกัน หากเป็นน้ำ องุ่น กับ ทุเรียน เชื่อได้เลยว่าหลายๆ คน คงจะคิดรสชาติที่ออกมาไม่ถูกแน่ๆ เพราะเพียงแค่ดูส่วนประกอบแล้วมันก็ไม่น่า ที่จำรสชาตินี้ เพราะมันมีความเป็นไปได้สูงมากๆ ที่รสชาติที่ออกมาจะไม่เข้ากัน

เช่นกันกับศาสตร์ด้านความเชื่อ และศาสตร์ด้านการออกแบบที่ แม้ความเป็นไปที่จะเข้ากันพอจะมีทางเป็นไปได้อยู่บ้าง แต่หากมองมุมกว้างๆ แล้วมันก็มีโอกาสเป็นอย่างสูงที่จะไม่มีความเข้ากันได้ ดังนั้น กล่าวคือ การที่การใช้ศาสตร์ทั้ง 2 อย่าง มาตัดสินงานประเภทเดียวกันนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไหร่ แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด หากแต่เพียงว่าเรานำเอาส่วนประกอบเล็กๆ มาใช่เพิ่มความกลมกล่อมมากกว่าขัดแย้งกัน ดั่งน้ำองุ่น ที่อาจจะไม่เข้ากับน้ำทุเรียน แต่สามารถใช้ใบของทุเรียน ตกแต่งองค์ประกอบอื่นๆ ให้ดูน่ากินขึ้นได้


ฮวงจุ้ยดีไซน์แฟนเก่า

ซินแส กับ นักออกแบบ ก็เป็นเหมือนกับ “แฟนเก่า”

ที่อาจจะเคยเข้ากันได้ในบางเรื่อง แต่ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า “คู่กัน”

หากเปรียบความสัมพันธ์ของ ซินแส กับ นักออกแบบ สำหรับตัวผู้เขียน มองว่าเป็นเหมือนกับ “แฟนเก่า” ที่แน่นอนว่ามันต้องมีเรื่องที่เข้ากันได้อยู่ในบางเรื่อง และสุดท้ายแล้วมันก็ไม่สามารถคู่กันได้ไปอย่างตลอดรอดฝั่ง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์มันดีขึ้นได้ นั่นก็คือการเปลี่ยน “เพื่อน” กันแทน ซึ่งในความหมายของการเปลี่ยนมาเป็นเพื่อนที่ว่านี้นั้น ก็คือการจุดตรงกันที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสบายกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งแน่นอนว่าหากซินแส และ นักออกแบบ จำเป็นต้องคุยกัน

แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ ก็มักเกิดจากที่มี “ผู้ว่าจ้าง” เป็นตัวกลาง ในการสื่อสารของทั้งสองฝ่ายมากกว่า และปัญหาเหล่านั้นมันจะจบลง หรือหาตรงกลางกันได้ง่ายๆ เพียงแค่ให้ ซินแส และ นักออกแบบคุยกันโดยตรงก็จะเป็นสิ่งที่ดีและควรทำมากกว่า

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าฉันใด ซินแสและนักออกแบบ ก็ต้องพึ่งพากันและกันฉันนั้น

เนื่องจากทั้ง 2 อาชีพ ก็เปรียบเหมือนกับได้ลงเรือลำเดียวกัน จึงจำเป็นต้องหาจุดสมดุลที่จะอยู่ร่วมกันได้ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว เรือคงล่ม .. และอยู่ไม่ได้ทั้งคู่อย่างแน่นอน

Share:

ติดตามเพื่อไม่พลาดทุกข่าวสาร และเรื่องราวดีๆ
สนใจบริการจัดทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร

เบอร์โทรศัพท์ : 065-021-9888
E-mail : freelance108.mkt@gmail.com