HIGHLIGHT
- เคยสงสัยไหมว่าระหว่างการคิด “เขียนหัวข้อก่อน” vs “เขียนเนื้อเรื่องก่อน” แบบไหนดีกว่ากัน
- เขียนหัวข้อก่อน อาจกำหนดเส้นทางของเรื่องได้ดีขึ้น
- เขียนเนื้อเรื่องก่อน อาจกำหนดหัวข้อได้ดึงดูดกว่าเดิม
ปกติแล้วเวลาเขียนงานไม่ว่าจะเป็นบทความยาว หรือ คอนเทนต์สั้นเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ หลายคนอาจมีเส้นทางการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ดังหัวข้อที่เรายกตัวอย่างมากนี้ ระหว่าง “เขียนหัวข้อก่อน” หรือ “เขียนเนื้อเรื่องก่อน” ซึ่งแน่นอนประเด็นของเราไม่ได้มาตัดสินว่าอันไหนถูกผิด แต่เราจะเชิญชวนทุกคนมาวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นข้อดีที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. การเลือก “เขียนหัวข้อก่อน”
บางคนอาจคิดว่าหากเขียนหัวข้อก่อน แล้วเนื้อหาออกมาไม่ตรงกัน จะกลายเป็นปัญหาภายหลังได้ แต่ทางกลับกัน หากเรามีหัวข้อที่คิดว่าดีมาก ๆ และชัดเจนอยู่ในหัวของเราเสมอ มันจะไม่มีทางทำให้เราหลุดธีมได้เลย โดยเฉพาะหัวข้อที่กระฉับ ได้ใจความ อ่านแล้วเข้าใจทันที เนื้อเรื่องต่อจากนี้จึงจะไม่มีทางหลุดกรอบได้อย่างแน่นอน
ฉะนั้นหากต้องการจะเริ่มต้น “เขียนหัวข้อก่อน” ควรจะมีปัจจัยเบื้องต้นให้ครบถ้วนดังนี้
- หัวข้อกระฉับสั้น ได้ใจความอ่านแล้วชัดเจน
- เป็นหัวข้อที่สร้างโครงร่างเนื้อหาให้เราได้อย่างเข้าใจ
- ธีมหลักตามหัวข้อต้องชัดเจน ไม่ดิ้นไปมาจนคนอ่านจับทางไม่ถูก
2. การเลือก “เขียนเนื้อหาก่อน”
สำหรับด้านการเลือกเขียนเนื้อหาก่อน มักจะพบในรูปแบบคอนเทนต์สั้นบนโซเชียลมีเดีย เนื่องจากให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่า เพราะเนื้อหาของเราจะ Flow มาก แล้วพอวนกลับมาเขียนหัวข้ออีกครั้ง ก็จะได้ธีมหัวเรื่องที่เข้ากันกับเนื้อหาอย่างลงตัว ส่วนทางด้านบทความยาว ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่อาจต้องย้อนอ่านจับประเด็นสำคัญมากหน่อย เพื่อมาย่อยให้ได้หัวข้อดี ๆ นั่นเอง
ถ้าอยากเริ่มต้น “เขียนเนื้อหาก่อน” เพื่อปูทางให้มีหัวข้อที่ดี ควรคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้
- เนื้อหาไปในทางเดียวกัน ไม่มีส่วนไหนที่พาออกทะเล
- ให้ข้อมูลครบถ้วนตามธีมที่เราต้องการ
- ถ้าให้ดีการมี Keymessage หลายช่วง จะทำให้เราย่อยมาทำหัวข้อได้ง่ายกว่า
เราขอย้ำอีกครั้งว่า “ทำแบบไหนก็ไม่ผิด” ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ความถนัด และทักษะของแต่ละคนอยู่ดี เพราะหน้าที่ของทุกคนต่อจากนี้ คือ การขัดเกลาให้ดีขึ้น แล้วผลงานจะพัฒนาตามมาเอง