- Adobe เตรียมเพิ่มเครื่องมือระบุข้อมูลรูปภาพบน Photoshop
- พร้อมระบุข้อมูล Metadata มากถึง 4 ประเภท
- เปิดให้งานเพียงแค่ Photoshop Beta เท่านั้น
มนุษย์เราทุกคนล้วนมีความรู้สึกกังวลไม่ต่างกันมากนัก เมื่อต้องเห็นสิ่งไม่รู้ที่มาที่ไป แต่กลับต้องดึงเอามันมาใช้ในงานสักชิ้นหนึ่ง ดังเช่นเหล่าฟรีแลนซ์สาย Graphic บนโลกออนไลน์ เคยไหมที่รู้สึกว่า การตัดต่อภาพ ทำภาพกราฟิกของคุณ รู้สึกไม่ปลอดภัยเท่าไหร่นัก เมื่อรูปที่ได้รับมา บอกไม่ได้ว่ามาจากไหน เป็นภาพฟรี หรือภาพลิขสิทธิ์ที่ถูกนำมาใช้โดยไม่รู้กันแน่ ?
ทว่าในอนาคตอันใกล้ที่จะถึงนี้ คาดว่าเรื่องปวดหัวของเหล่าฟรีแลนซ์ Graphic ในเรื่องดังกล่าว อาจหายไปจนเกือบหมด เมื่อ Adobe เพิ่มเครื่องมือ Authenticity อันมีหน้าที่ในการเช็ก “แห่งที่มาของรูปภาพ” และสามารถป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ โดยเจ้าเครื่อวงมือตัวนี้ จะสามารถเพิ่มข้อมูล Metadata ทั้งหมด 4 ประเภทได้แก่
- รูปภาพขนาดย่อ
- ชื่อของผู้สร้างภาพ
- ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเภทการแก้ไขภาพที่เคยทำ
- ข้อมูลดั้งเดิมที่ใช้สร้างภาพ
ข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกฝังอยู่ในไฟล์ เพื่อสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ว่า ใครนำภาพนี้ไปดัดแปลง และเหนือไปกว่านั้น หากรูปภาพถูกอัปโหลดขึ้น Behance (เว็บไซต์แชร์ผลงานของ Adobe) ผู้ใช้งานก็จะสามารถมองเห็นข้อมูลทั้งหมดของภาพได้ ซึ่งจะโชว์ในลักษณะป๊อปอัพ หรือคลิกดูผ่านเว็บไซต์ได้เลย เพียงแต่ว่า Panel นี้ยังเปิดให้บริการเฉพาะลูกค้าบางรายที่ใช้งาน Photoshop Beta อยู่