เตรียมพัฒนาการรับรู้การสัมผัสในระบบ VR โดยนักวิจัยและพัฒนาสุดเจ๋ง!!

Highlight

  • VR ปัจจุบันนี้ ยังทำได้ดีแค่เรื่องการมองเห็นเท่านั้น
  • นักวิจัย Cornell University จึงพัฒนาระบบสัมผัสเพื่อ VR ขึ้นมา
  • อาจถูกใช้กับหุ่นยนต์ ให้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น

ปกติแล้วการใช้งานระบบ VR หรือ “Virtual Reality” ที่เรารู้จักกันดี มักจะทำได้เพียงแค่เรื่อง การมองเห็นเท่านั้น ซึ่งมันทำให้ดูไม่สมจริงเท่าไหร่นัก หากปราศจาก การสัมผัส แต่ทว่าเมื่อช่วงที่ผ่านมานี้ นักวิจัยจาก Cornell University ได้พัฒนาเซนเซอร์ผิวหนังยืดหยุ่นได้รูปแบบใหม่ ที่ใช้ไฟเบอร์ออปติกส์ในการให้ความรู้สึกสัมผัส

โดยการทำงานของเซนเซอร์ผิวหนัง

โดยการทำงานของเซนเซอร์ผิวหนังนี้ เป็นเซนเซอร์ไฟเบอร์ที่ทำมาจาก ซิลิกา ซึ่งถูกนำมาใช้งานในการมองหาการเปลี่ยนความยาวคลื่นเพียงเล็กน้อย ในการสัดองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ภายในถุงมือตัวนี้แต่ละนิ้วจะมี “ตัวนำแสง (light guide)” สามารถยืดหยุ่นได้ ที่รวมเอาแกนโพลียูรีเธนโปร่งแสงกับแกนเชื่อม LED ที่มีสีย้อมดูดซับในตัว เมื่อคุณทำการขยับนิ้วเปลี่ยนท่าทาง หรือเจอกับแรงกด สีย้อมจะทำหน้าที่เป็นตัวเข้ารหัสเชิงพื้นที่ (Spatial Encoders) ที่จะเปล่งแสงขึ้นมา เพื่อแสดงถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง

ช่วงเริ่มต้นทดลอง

แม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวยังเป็นช่วงเริ่มต้นทดลอง โดยที่ถุงมือตัวนี้เป็นแบบพิมพ์ 3D ใช้งานควบคู่กับ Bluetooth แบตเตอรี่ และวงจรแบบพื้นฐานเพียงเท่านั้น แต่การพัฒนาเพื่อนำไปใช้งานมีจุดประสงค์อย่างชัดเจน คือการเพิ่มสัมผัสให้กับ VR ในอนาคต เช่นการสัมผัสและจับวัตถุจำลอง แม้ว่ามันจะไม่สามารถทำสัมผัสได้เหมือนถึง 100% มันก็ยังสามารถให้เรารับรู้การสัมผัสได้ ซึ่งอาจนำมาใช้กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในอนาคต เพื่อให้มันสามารถรับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือสิ่งของจากการสัมผัส และทำให้จัดการเรื่องปฏิสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

Share:

ติดตามเพื่อไม่พลาดทุกข่าวสาร และเรื่องราวดีๆ
สนใจบริการจัดทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร

เบอร์โทรศัพท์ : 065-021-9888
E-mail : freelance108.mkt@gmail.com