ฟรีแลนซ์ VS พนักงานประจำ คำตอบครบทุกมุมมองมีอะไรบ้างที่คุณควรรู้!

HIGHLIGHT

  • ในยุคที่งานประจำก็ต้องทำที่บ้านไม่ต่างจากฟรีแลนซ์
  • มาดูกันว่ามุมมองของแต่ละด้านจะเป็นอย่างไร
  • แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความสะดวก และความชอบส่วนบุคคลจะเป็นตัวกำหนดแนวทางความคิดเห็นของเราเอง

หลายครั้งที่วัยรุ่นสมัยใหม่มักมีคำถามค้างคาใจเสมอว่า จบแล้วทำงานแบบไหนใช่ตัวเองมากกว่ากัน? ในยุคสมัยที่งานประจำนั้นแสนจะหายาก หาเย็น ไหนจะความต้องการพื้นฐานอย่างการ “มีประสบการณ์ 1 ปีขึ้นไป” ทำให้เด็กจบใหม่หลายคน ถูกปิดช่องทางทำมาหากินไปเยอะ ดังนั้นจึงมีความคิดที่แทรกเข้ามาตลอดว่า เอ้าแล้วฟรีแลนซ์ล่ะ? ที่เราไม่ต้องเข้าทำงานแบบจริงจัง สามารถรับงานได้หลายที่แบบไม่ผูกมัด ก็ดูจะรายได้ดี แถมไม่ต้องการอะไรมากมาย แต่กลับไม่มั่นคงเท่าที่ควรในหลาย ๆ ด้าน สรุปว่า “ฉันจะตัดสินใจยังไงดีล่ะแบบนี้”

เอาล่ะครับในวันนี้รายการ Freelance Podcast ของเรา เตรียมเนื้อหามาดีเบทกันทั้ง 2 ด้าน จากพนักงานจริงทั้ง 2 คน กับหนึ่งคนเป็น “ฟรีแลนซ์มากประสบการณ์” ที่ผ่านสมรภูมิงานมาหลายรูปแบบ กับ อีกหนึ่งคน เป็นเด็กจบใหม่ในตำแหน่งพนักงานประจำ จะมาลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้ทุกคนได้ฟังกัน


1. ช่วงเวลาการทำงาน

ฟรีแลนซ์มีอะไรบ้างช่วงเวลาการทำงาน

มุมมองจาก “ฟรีแลนซ์”

ได้ช่วงเวลาที่อิสระ ทำงานเวลาไหนแล้วแต่เรากำหนด แต่ควรจะต้องมีระบบ มีระเบียบ และสามารถจัดการตัวเองให้งานเสร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนดได้ ไม่ยืดเยื้อ และไม่ควรทำงานชนเดดไลน์มากเกินไป ใช้ความอิสระให้เป็นประโยชน์ เช่น กำหนดว่า ช่วงเช้าฉันอยากพักผ่อน ก็ใช้ชีวิตกินเล่น เที่ยว แบบตามสบาย แต่พอถึงช่วงบ่าย งานประจำจะต้องเสร็จนะ ไม่อย่างนั้นเช้าวันถัดไปต้องตื่นมาทำงาน อะไรทำนองนี้เป็นต้น

มุมมองจาก “พนักงานประจำ”

เป็นการทำงานที่ถูกกำหนดเวลาแบบตายตัว คุณต้องเข้า 9.00 น. นะ จะออกงานก็ต้อง 17.00 น. นะ แน่นอนว่าช่วงเวลาดังกล่าว คุณไม่ได้มีโอกาสทำอะไรอย่างอื่นแน่นอน อย่างดีสุดคงแค่ ออกไปกินข้าวข้างนอก ไม่ก็เล่นโซเชียลมีเดีย ดูอะไรเรื่อยเปื่อยในเวลางานเท่านั้น ช่วงเวลาการใช้ชีวิตประจำวันจะเหลือแค่ตอนเย็น ถ้าไม่มีโอทีละก็นะ เพราะถ้ามีโอทีอีก กว่าจะได้กลับเวลาไหนไม่รู้เลยทีนี้ ถ้าจัดเวลาตอนเย็นไม่ถูกนะเหลวแหลกแน่ ๆ


2. ปริมาณงานที่ได้รับกับรายได้

ฟรีแลนซ์มีอะไรบ้างปริมาณงานที่ได้รับกับรายได้

มุมมองจาก “ฟรีแลนซ์”

เราสามารถสโคปได้ว่า เดือนนี้เราอยากทำงานแบบไหนบ้าง หรือรับจำนวนงานเยอะมากเท่าไหร่ ก็สามารถจัดสรรได้ หรือจะเปรียบเทียบกับรายจ่ายประจำเดือน ค่าบ้าน ค่าไฟ ค่ารถ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ คำนวณได้เลยว่างานเดือนนี้จ่ายได้ครบหรือยัง ถ้าไม่อย่างนั้นก็เดือนนี้ อาจจะอยากช้อปปิ้งเยอะหน่อย เอาว่ะ กัดฟันสักนิดเดือนนี้ รับงานเยอะ ๆ จะได้มีรายได้เพิ่มไปช้อปปิ้งในต้นเดือนหน้า ทำให้เราจัดการตามความเหมาะสมได้เองทั้งหมดเลย

มุมมองจาก “พนักงานประจำ”

ถ้าเป็นฝั่งนี้ละก็ หมดสิทธิ์คิดเรื่องปริมาณงานได้เลย งานเยอะขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เงินเดือนเราจะเพิ่มขึ้น อาจเพียงเพราะว่า เจ้านายเห็นคุณทำงานดี ก็อาจเพิ่มงานให้คุณอีก หรือไม่ก็จำนวนงานเมื่อเทียบกับพนักงานในบริษัทมันดูโอเวอร์โหลดเกินไป ทุกคนก็อาจได้งานเยอะเพิ่มขึ้นเท่ากันหมด ขณะที่เงินเดือนเท่าเดิม จัดการอะไรไม่ได้เลย ก้มหน้าทำงานต่อไป


3. สภาพแวดล้อมในการทำงาน

ฟรีแลนซ์มีอะไรบ้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน

มุมมองจาก “ฟรีแลนซ์”

พวกเราสามารถเลือกได้ว่า วันนี้ฉันอยากทำงานในสภาพแบบไหน ทำงานชิว ๆ บนเตียงที่ถึงแม้จะนอนกว่าทำงานก็ตาม ออกไปนั่งสวย ๆ อยู่ในร้านกาแฟ พร้อมกับหน้าตาทำงานอย่างจริงจัง หรือพกโน้ตบุคเครื่องเล็ก ๆ ที่ทำให้พร้อมกางออกมาทำงานแม้ขณะตอนติดไฟแดง! ไม่ต้องมาทนเสียงบ่นจากใคร หรือไม่มีใครชวนคุยให้เสียสมาธิจนน่ารำคาญ แต่อาจต้องจัดแจงความรู้สึกตึงเครียดในเวลางานด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครให้บ่นด้วยเท่าไหร่นัก

มุมมองจาก “พนักงานประจำ”

การเข้าไปทำงานในออฟฟิศที่มีพนักงานมากมาย ถึงแม้ว่าจะคนเยอะ เหมือนเดิมทุกวัน แต่สิ่งที่ช่วยให้การทำงานแต่ละวันพอจะมีรอยยิ้มมุมปาก หรือเสียงหัวเราะลั่นได้บ้าง ก็เพื่อนร่วมงานกับการคุยกันประจำวันนี่แหละ อาจเป็นเรื่องทั่วไป สร้างสรรค์ความเฮฮา ปรึกษาเรื่องงานแบ่งปันเทคนิคกัน นั่งกินข้าวกันเป็นกรุปแล้วเม้าท์มอยกันอย่างออกรส ทว่ามันก็ไม่ได้สวยหรูเสมอไปนะ เพราะเพื่อนร่วมงานใช่จะดีเสมอไป มันก็มีทั้งคนที่ดี และคนที่วุ่นวายจนน่ารำคาญเหมือนกัน


4. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เสียเงินจากภายนอก

ฟรีแลนซ์มีอะไรบ้างปัจจัยเสี่ยง

มุมมองจาก “ฟรีแลนซ์”

ในข้อนี้เข้าเป้าฟรีแลนซ์เต็ม ๆ เลย เพราะความอิสระนี่แหละ ทำให้เราเลือกทุกสิ่งทุกอย่างให้ตัวเองได้ ตามความต้องการ ทีนี้ก็จะมีเรื่องให้เสียเงินเยอะขึ้น จนเราไม่รู้ตัว ค่ากาแฟดี ๆ ที่แพงแบบพุ่งปรี๊ด ค่าน้ำมันเดินทางออกไปทำงานในที่พิเศษที่ต้องการ อุปกรณ์การทำงานที่ต้องพร้อม ต้องครบมือ เพื่อให้ลุยงานได้ทุกประเภท ไหนจะเรื่องโต๊ะทำงานที่ต้องรายล้อมไปด้วยสิ่งของในการทำงาน ไม่มีหรอกบ้านใครที่มาพร้อมอุปกรณ์ทำงานครบถ้วน เราก็ต้องหาใหม่หมดจริงไหมล่ะ

มุมมองจาก “พนักงานประจำ”

พนักงานประจำจะมีปัจจัยเสี่ยงเสียเงินน้อยมากในเวลางาน อย่างมากก็แค่ค่าข้าว ค่าอุปกรณ์เล็กน้อย เพราะส่วนหนึ่งพื้นฐานจากออฟฟิศ หรือบริษัทก็มีให้ใช้งานค่อนข้างครบถ้วนบ้างอยู่แล้ว เว้นเสียแต่ว่าอยากได้อุปกรณ์แอดวานซ์ในการทำงานขึ้น ก็ต้องหาซื้อเอง แต่มันก็ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งหมดไงถูกไหม แถมการไม่ได้ออกไปข้างนอกอย่างอิสระ ทำให้ปัจจัยเสี่ยงในการเสียเงินน้อยลงไปอีก เลิกงานก็ตรงดิ่งกลับบ้านไปพักผ่อน ไม่ได้แวะไหนหรอก


ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความสะดวก และความสามารถในการจัดการตัวเองด้วย ใครเอนเอียงไปทางไหน ก็เลือกทางนั้น แต่ไม่แนะนำให้ทำ 2 อย่างพร้อมกันนะ ไม่อย่างนั้นชีวิตคุณอาจแทบไม่มีเวลาทำอย่างอื่นเลย “ชั้นเตือนแล้วนะ!!” ถ้าพูดจบรายการแล้ว อย่าลืมกดยกเลิกอัดคลิปนะ

Share:

ติดตามเพื่อไม่พลาดทุกข่าวสาร และเรื่องราวดีๆ
สนใจบริการจัดทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร

เบอร์โทรศัพท์ : 065-021-9888
E-mail : freelance108.mkt@gmail.com