Highlight
- A/B Testing คืออะไร ?
- A/B Testing ใช้กับอะไรได้บ้าง ?
- A/B Testing สำคัญยังไง ? แล้วสรุป ช่วยแก้ไขปัญหาอะไร ?
คำว่าฟรีแลนซ์ด้านการออกแบบ เราหมายถึงภาพรวมทั้งเหล่า Graphic หรือแม้แต่ Development ที่ออกแบบหน้าเว็บไซต์ด้วย คุณควรรู้จักกับวิธีการอย่าง A/B Testing ให้กระจ่างแจ้ง เพื่อเอาไปปรับใช้ในงานของตัวเอง แล้วมันคืออะไร ใช้ยังไง สำคัญแค่ไหน? ลองมาหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่า
1.A/B Testing คืออะไร?
อันดับแรกต้องรู้ก่อนเลยว่า การทำ A/B Testing คืออะไรกันแน่ เจ้าวิธีการนี้มันก็แปลได้ตรงตัวกับความหมายของมันแน่แหละ คือการ Testing งานทั้งตัว A และ B เพื่อเปรียบเทียบให้เราได้รู้ว่า ชิ้นงานไหนมีประสิทธิภาพการเข้าถึงมากกว่า โดยการทดสอบจริง คุณจะต้องทำการสร้างชิ้นงาน 2 ชิ้น และลเอกกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ม แล้วลองมาดูผลลัพธ์คุณควรนำงานชิ้นไหนไปปรับปรุง เพิ่มเติม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในอนาคต สถิติแบบนี้เหล่าฟรีแลนซ์ Marketing อย่าลืมเก็บไปคิดกันนะ
2.A/B Testing ใช้กับอะไรบ้างละ?
ถ้าหากคุณเป็นฟรีแลนซ์ที่อ่านแล้วเข้าใจทันทีว่า A/B Testing คืออะไร คุณจะเข้าใจวิธีการทำงานของมันได้ทันที เพราะแท้จริงแล้ว “มันเอาไปทดลองกับอะไรก็ได้” ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง รูปแบบการใช้คำ หัวข้อ Call To Action โฆษณาออนไลน์ประสบการณ์ต่าง ๆ ทุกอย่างล้วนเข้ากระบวนการนี้ได้ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบ Landing page สำหรับการรันเว็บไซต์ในครั้งแรก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ หรือบริษัท ถ้าหากเรา Launch ออกไป 2 แบบที่แตกต่างเพียงเล็กน้อย แล้วให้ผลลัพธ์ชัดเจนว่าอันไหนมียอดเข้าถึงดีกว่า นั่นหมายความว่า คุณพลิกเอาจุดเล็ก ๆ แบบนั้นไปใช้งานจริงได้ด้วยเหมือนกัน
3.A/B Testing สำคัญยังไง แล้วสรุปช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?
สุดท้ายคือ การตอบโจทย์สำคัญอย่าง A/B Testing มันสำคัญตรงไหนละ? ช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เราได้บ้าง? ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า หากคุณเป็นฟรีแลนซ์สายไหนก็ตามแต่ ที่เลือกวิธีเข้ามาพัฒนางานของตัวเอง คุณคือมืออาชีพที่อยากทำงานให้มีคุณภาพ แล้วเคยไหมที่เมื่อคิดงานได้อย่างอลังการณ์งานสร้าง แต่กลับไม่รู้จริง ๆ ว่า แบบไหนกันแน่ที่จะดีกว่ากัน นี่แหละคือความสำคัญของ A/B Testing ปล่อยผลออกไปทั้งคู่ แล้วรอดูปฏิกิริยาตอบโต้กลับมาเพื่อเก็บข้อมูล แล้วพัฒนาต่อไป
ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาของ A/B Testing คือกรยกคำตอบทั้งหมดในทุกข้อมาอธิบายแบบสั้น ๆ ได้ว่า “ช่วยแก้ปัญหาการตัดสินใจผลงานที่แตกต่าง ว่าแบบไหน มีประสิทธิภาพอย่างไร ต่อกลุ่มเป้าหมายใด” ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นับว่าล้ำค่าอย่างมาก ในการเอาไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาผลงานในอนาคต ให้เข้ากับแบรนด์หรือบริษัท จนได้ผลตอบรับที่ดีที่สุด