HIGHLIGHT
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ทำไมต้องหัก
- รู้ไว้ไม่เสียหาย เรื่องภาษีกับการจ้างฟรีแลนซ์
- ฟรีแลนซ์อย่าลืมเสียภาษีถ้ายอดเกิน 1,000 บาท
รู้ไว้ใช่ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคิดยังไง เพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการหลายคนอาจมองข้ามเรื่องภาษีไป สำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้จัดตั้งเป็นบริษัทอาจไม่จำเป็นมากนัก แต่ถ้าหากคุณได้ทำการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลแล้ว ทุกการจ่ายเงินต้องคำนึงถึงเรื่องภาษีไว้
หลักการง่าย ๆ สำหรับการคิดว่าเราต้องจ่ายเงินพร้อมกับหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อไหร่ ดูจากสมการ ดังนี้
“ผู้จ่าย” ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ต้อง หักภาษี กับ “ผู้รับ” ที่เป็นนิติบุคคลหรือคนทั่วไป จากนั้นจึงจำภาษีส่งให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
แน่นอนว่าการหักภาษีแต่ละครั้งนั้นไม่เท่ากัน ส่วนแรกต้องพิจารณาว่าผู้รับเงินคือใคร และ จ่ายสำหรับอะไร แต่ในแง่ของการจ้างฟรีแลนซ์จะมีอยู่ 3 ประเภท ด้วยกัน ที่เรามองว่าจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการจ้างฟรีแลนซ์
1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคิดยังไง หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา
หากต้องการทำโฆษณาสินค้าหรือบริการเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัดด้วยการประกาศ ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Offline หรือ Online บน Social Media อื่น ๆ เช่น Facebook Instagram ผู้ประกอบการอย่าลืมทำการ หักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นจำนวน 2% ของค่าจ้าง
2. หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่าง ๆ
สำหรับการจ้างฟรีแลนซ์หลัก ๆ จะเข้าข่ายนี้มากที่สุด เพราะครอบคลุมทุกการจ้างงาน เช่น การจ้างออกแบบสื่อ กราฟิกต่าง ๆ จ้างเขียนคอนเทนต์ จ้างช่างภาพ เพราะงานส่วนนี้ถือว่าเป็นการจ้างบริการ ดังนั้น จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นจำนวน 3% ของค่าจ้าง
3. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคิดยังไง ยอดค่าบริการไม่เกิน 1,000 บาท ไม่ต้องหักจริงหรือ
สำหรับการจ้างงานที่มีจำนวนน้อย ยอดค่าบริการไม่ถึง 1,000 บาท ทางผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องหักภาษี แต่ถ้าเป็นการจ้างงานแบบต่อเนื่องระยะยาว เมื่อยอดทั้งปีเกินมูลค่า 1,000 บาทก็จำเป็นต้องหักเช่นกัน
จริง ๆ แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด และไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมทางด้านกฎหมายด้วยเช่นกัน หมั่นอัปเดตข้อมูลทางด้านกฎหมายอยู่เสมอเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกอบการแล้วฟรีแลนซ์