HIGHLIGHT
- PDPA มาแน่ พฤษภาคม 64 นี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการ
- พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร? ทำไมต้องตื่นตัว?
- อยากเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคแบบไม่ผิดกฎหมายทำยังไง มาดูกัน
นอกจากเทรนด์และแนวโน้มของการตลาดแบบใหม่ ๆ ที่เหล่า เจ้าของธุรกิจออนไลน์ ทั้งหลายจำเป็นต้องอัปเดตอยู่เสมอแล้วนั้น ข้อกฎหมาย ก็เป็นอีกเรื่องที่พลาดไปไม่ได้
ในอีกไม่ช้า พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’ กำลังจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกข้อกฎหมายที่หลายคนอาจจะไม่รู้มาก่อน ดังนั้น Freelance108 ขอมาย้ำเตือนเหล่าผู้ประกอบการอีกครั้งสำหรับการตื่นตัวในข้อกฎหมายใหม่
เนื้อหาสาระ ทั้ง 3 ประเด็นของ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ เจ้าของธุรกิจออนไลน์ ต้องรู้
- หากมีความต้องการจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคจำเป็นต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล ทั้งการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลตามที่ผู้เก็บรวบรวมเป็นผู้แจ้งอย่างชัดเจนตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลจากช่องทางไหนก็ตาม
- ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลจำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างถึงที่สุด เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล หรือการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่ความอันตรายอื่น ๆ ได้
- เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์เพิกถอนความยินยอม (Consent) หรือทำลายข้อมูลเมื่อไรก็ได้ ตามความต้องการ
ทั้ง 3 ประเด็นหลักเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการคนไหนที่กำลังทำธุรกิจที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคจำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาข้อกฎหมายเหล่านี้ นอกจากนี้ Freelance108 ยังค้นหาข้อมูลว่าต้องทำอย่างไรที่เราจะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย
เจ้าของธุรกิจออนไลน์ จะเก็บข้อมูลผู้บริโภคอย่างถูกกฎหมายต้องมีการทำ Consent
หากมีความต้องการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการทำการตลาด ทำโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของแบรนด์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชี้แจงจุดประสงค์ส่วนนี้ให้ผู้ให้ข้อมูลรับทราบอย่างชัดเจนตั้งแต่แรก
และอีกสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีคือการทำ Consent หรือการได้รับการยินยอมให้เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายคือการทำ Explicit Consent ที่จะให้ผู้ยินยอมให้ข้อมูลทราบจุดประสงค์อย่างชัดเจน พร้อมให้ติ๊กเลือกช่อง “ฉันได้อ่านและยอมรับ” หรือ “ยอมรับเงื่อนไข” ก่อนที่จะเข้าใจงานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันนั่นเอง
ดังนั้น ตอนนี้ใครที่ยังไม่มีการอัปเดตมาตรการเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลที่รับกับข้อกฎหมายนี้ ต้องเร่งมือโดยด่วน เพราะหากละเมิดข้อกฎหมาย จะต้องมีความผิดทั้งทางแพ่ง อาญา และ ปกครอง ปรับสูงสุดถึง 5 ล้านบาท