- Personalize Communication ต้องสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
- Personalized Channel ต้องสื่อสารให้ถูกช่องทาง ถูกเวลา
- Personalized Content ต้องสื่อสารให้ถูกใจ
ในปี 2020 นี้นับได้ว่าเข้าขั้นวิกฤตโดยแท้ เศรษฐกิจทั่วโลกต่างชะลอตัว ไม่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ยิ่งเราต้องการหาช่องทางเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากขึ้น จากการตีโจทย์ยากในช่วงเวลาแบบนี้ ยิ่งต้องมีเคล็ดลับดี ๆ ติดตัวเอาไว้ก่อน อย่างเช่นการ Personalization การยกระดับการเข้าถึง ผ่านความเป็นปัจเจกของบุคคล ซึ่งแต่ละแบรนด์ต้องเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น อย่างเช่น “ทัศนคติและรสนิยม” ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นเราเองก็ต้องปรับตัวตามโลกให้ทัน เพื่อเสริมความแกร่ง ให้อยู่รอดพ้นท่ามกลางวิกฤตแบบนี้ไปได้!!
1.Personalized Communication
อันดับแรก ขึ้นอยู่กับการสื่อสารที่คุณจะสามารถปรับเปลี่ยน ให้เข้ากันกับทฤษฎี Personalization ได้หรือไม่ ซึ่งก็คือ หากต้องการจะขายของให้กับใคร ต่อให้สินค้านั่นดีเลิศ หรือวิเศษมากแค่ไหน หากคุณไม่มีข้อความโดน ๆ ที่ตรงใจลูกค้าได้ ก็จะไม่เกิดการขายขึ้นอย่างแน่นอน โดยตัว Personalization นี้ยังหมายถึงเรื่องการคาดเดาที่นอกเหนือจากการสื่อสารได้อีก แปลว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของคุณ สิ่งที่คุณต้องทำอันดับแรกคือ การเดาใจลูกค้า หาข้อมูลเรียลไทม์ที่กำลังเกิดขึ้น พร้อมกับสร้างข้อความการเข้าถึง ที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า
เช่น หากเขาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน การเอาแต่ส่งข้อความขายอย่างฟุ่มเฟือย อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก ควรหันเหมาเป็น การแสดงความเข้าใจ ให้กำลังใจ หรือสื่อสารในเชิงที่สอดคล้องกับสถานการณ์ตอนนั้นจะดีกว่า
2.Personalized Channel
อันดับที่ 2 เป็นเรื่องช่องทางการสื่อสาร ซึ่งหมายความว่า ต่อให้คุณมีเวลา 24 ชั่วโมง ในการสื่อสารกับลูกค้าผ่านแบรนด์ แต่สิ่งที่ต้องรู้และขาดไม่ได้เลยก็คือ “ช่วงเวลาอันเหมาะสม” คนที่ใช่ “ก็ต้องมาในเวลาที่ใช่ด้วย” ไม่อย่างนั่นจะขายอะไรได้ หากรู้ค้าไม่สามารถรับรู้ได้? เฉกเช่นเดียวกันกับเหตุผลที่คนรุ่นใหม่ เลิกรับอีเมลจากแบรนด์ต่าง ๆ เนื่องจากไม่ต้องการความยุ่งยาก หรือวุ่นวาย จะดีกว่าไหมหากสื่อสารผ่านช่องทางที่พวกเขาใช้งานเป็นประจำ เช่น Line AD , Facebook AD หรือจะเป็นการให้สมัครรับข้อมูลข่าวสารผ่าน SMS จากหน้าเคาน์เตอร์แบรนด์โดยตรง
ไหนจะแอปพลิเคชั่นอีคอมเมิร์ซที่มีออกมาอย่างแพร่หลาย มีผู้คนเข้าใช้งานอย่างมาก ทำให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็ว จนรียกได้ว่าฉุดไม่อยู่ ดังนั้น Communication เป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์จะต้องมองหา เปรียบเทียบข้อมูล เพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้ถูกที่ถูกเวลา จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
3.Personalized Content
อันดับที่ 3 ข้อสุดท้ายคือตัว “สื่อ” ที่ส่งออกไป ต้องมีความน่าสนใจ ให้เหมาะสมของแต่ละกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ว่าใครก็ต้องการอยากเห็นอะไรใหม่ ๆ ที่รวมถึงข้อความการสื่อสารที่ส่งออกไปด้วย เห็นได้ชัดเจนจาก “ภาษา” ในการพูดคุย ในรูปแบบที่ความเป็นทางการเริ่มลดน้อยถอยลง การเป็น “ภาษาพูด” เป็นส่วนใหญ่ แถมยังต้องปรับทิศทางการใช้ภาษา ให้สอดคล้องกับคนรุ่นใหม่ หรือกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มอีกต่างหากดังนั้นแปลว่า ถ้าเมื่อไหร่ข้อความของจากแบรนด์คุณ อ่านแล้วรู้สึก “น่าเบื่อ” ไม่มีใครคิดจะอ่านข้อความแบบนี้ การขายย่อมไม่เกิดขึ้น การปรับเปลี่ยนให้เท่าทันโลก จึงเป็นสิ่งที่ดีในการเพิ่มความแกร่งให้กับแบรนด์ได้ดีทีเดียว