ก่อนเกษียณ

3 สิ่งสำคัญ ที่เหล่าฟรีแลนซ์ควรเตรียมให้พร้อม ก่อนจะเกษียญ

HIGHLIGHT

  • เหล่าฟรีแลนซ์ทั้งหลายเคยคิดกันหรือยัง ว่า ก่อนเกษียณ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
  • 3 สิ่งสำคัญที่เหล่าฟรีแลนซ์ควรเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนเกษียณ 
  • เพื่อให้ตัวเราได้พักงานอย่างสบายใจ ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในทุก ๆ วัน

ไม่ว่าอาชีพไหน งานไหน ต่างก็ต้องมีช่วงเวลาเกษียณ เมื่อถึงวัยที่เราไม่สามารถทำงานให้ดีเหมือนเก่า หรือทำได้ในปริมาณที่เท่าเดิมอีกต่อไป แต่หากเป็นพนักงานทั่วไปพวกเขาอาจมีสวัสดิการต่าง ๆ จากองค์กร และหน่วยงานคอยดูแล ทำให้มีเงินเก็บมากพอที่จะเอาไปใช้ทางอื่นมากกว่าเมื่อเทียบกับเหล่าฟรีแลนซ์ เมื่อค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์มีค่าขนาดนี้

ฟรีแลนซ์อย่างเรา ๆ จะวางแผนการเงินยังไงดี ให้บั้นปลายชีวิตช่วงเวลาเกษียณ ได้กินอยู่อย่างปกติสุข


ก่อนเกษียณตั้งเป้าเงินออม

1. ตั้งเป้าเงินออมช่วงเกษียณ

วิธีการคิดคำนวณเงินออมเพื่อช่วงเกษียณนั้นง่ายมาก เราต้องคำนึงถึงก่อนว่าอีกกี่ปีเราจะเกษียณ และช่วงเวลาที่เหลือเราตั้งใจจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน รวมถึงอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไหร่ ให้เอามาคำนวณตามนี้

เช่น อยากเกษียณอีก 30 ปีข้างหน้า มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณที่ 23,000 บาท และจะใช้ชีวิตต่ออีก 20 ปี

เงินออมเพื่อการเกษียณ = 23,000 x 20 x 12 = 5,520,000 บาท

เงินที่ต้องออมแต่ละเดือน = 5,520,000 / (12 x 30) = เงินที่ต้องออมคือเดือนละ 15,333 บาท


ก่อนเกษียณประกันแบบครอบจักรวาล

2. ประกันแบบครอบจักรวาล ห้ามขาด

เพราะจุดอ่อนหลักของการเป็นฟรีแลนซ์คือ เราจะไม่มีสวัสดิการอะไรให้ตัวเองเลย หากไม่ไขว่คว้ามันมา อย่างเช่น ประกันสุขภาพ , ประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันชีวิต ถือเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่ฟรีแลนซ์ควรแบ่งส่วนนี้เอาว่าอย่างสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าเมื่อไหร่เกิดเรื่องไม่คาดฝัน ทำให้เราต้องหยุดพักทำงานไปช่วงหนึ่ง เท่ากับขาดรายได้ไปเลย 0% แต่หากมีประกันเหล่านี้ เรายังพอได้รับเงินชดเชยหยุดงาน จากกรมธรรม์ประกันอยู่บ้าง เพื่อมาต่อชีวิตช่วงที่หยุดงานไป


ก่อนเกษียณวางรากฐานที่มั่นคง

3. วางรากฐานที่มั่นคง ด้วยการลงทุน

สำหรับในหัวข้อนี้เราอยากให้ฟรีแลนซ์ทุกคนที่มีเงินเก็บส่วนตัว แบบประจำทุกเดือน ลองหาช่องทางการให้ “เงินออกไปทำงาน” ผ่านวิธีลงทุนหลายแบบที่สมัยนี้มีให้เข้าถึงง่าย ๆ เพียบ เช่น

  • กองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ (RMF) จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาลงทุน
  • กองทุนรวมระยะยาว (LMF) ผู้สนใจสามารถเลือกได้ ว่าต้องการจะรับเงินปันผลระหว่างลงทุนหรือไม่

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนรายรับรายจ่ายด้วยว่า เราต้องการเงินปันผลออกมาใช้หรือไม่ แต่ทั้งนี้อย่างน้อย ๆ ก็ควรแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากรายได้ มาเข้ากองทุนด้วย เราจะได้มี Passive Income อยู่เสมอ

 

Share:

ติดตามเพื่อไม่พลาดทุกข่าวสาร และเรื่องราวดีๆ
สนใจบริการจัดทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร

เบอร์โทรศัพท์ : 065-021-9888
E-mail : freelance108.mkt@gmail.com